5 ข้อควรรู้ ก่อนเลือกซื้อเรซิ่น

หลายคนที่กำลังมองหาน้ำยาเรซิ่นที่ใช่ คงเห็นว่าวิธีการเลือกน้ำยาเรซิ่นที่ตอบโจทย์ช่างน่าสับสนเหลือเกิน เมื่อมองดูน้ำยาเรซิ่นที่มีอยู่ในท้องตลาด ก็ไม่รู้ว่าแบบไหนที่ใช่สำหรับเรา ไม่รู้ควรเริ่มค้นหาข้อมูลจากจุดไหน ตลอดจนเลือกซื้ออย่างไร จากปัญหาดังกล่าว วันนี้ EASY RESIN ในฐานะผู้ผลิตน้ำยาเรซิ่นอันดับ 1 ของประเทศไทย จึงได้ถือโอกาสนี้มาแนะนำ ‘ข้อสำคัญควรรู้สู่น้ำเรซิ่นที่ใช่’ ให้กับเพื่อน ๆ จะมีสาระสำคัญอะไรบ้าง มาเริ่มกันเลย!

1. ควรใช้ ‘เรซิ่น’ แบบใด ขึ้นอยู่ ‘โปรเจคเรซิ่น’ ของเรา

สำหรับเพื่อน ๆ หลายคนที่กำลังคิดไม่ตกว่าควรใช้เรซิ่นแบบใด EASY RESIN สรุปให้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. แบบชิ้นงานที่ต้องการ (เช่น ความใส ความแข็งแรง ความหนา)
  2. วิธีทำ สถานที่ และอุปกรณ์
  3. งบประมาณ

ถึงแม้ว่าจะมีน้ำยาเรซิ่นหลายชนิดในท้องตลาด แต่การหาเรซิ่นที่มี ‘คุณสมบัติ’ ตรงกับ ‘โปรเจคเรซิ่น’ นั้นไม่ยากอย่างที่คิด ก่อนที่จะเริ่มหาซื้อน้ำยาเรซิ่น EASY RESIN จึงขอแนะนำให้เพื่อน ๆ ลองทำรายการคุณสมบัติโปรเจคเรซิ่นของตนเองออกมาก่อน เช่น เป็นงานหล่อ, ต้องการความใส, ผิวสัมผัสแบบใด หลังจากนั้นจึงเริ่มมองหาแบรนด์ผู้ผลิตที่สามารถผลิตน้ำยาเรซิ่นชนิดที่ตรงกับความต้องการดังกล่าว

เรซิ่นนั้นถือเป็นส่วนผสมที่อเนกประสงค์ คุณสมบัติที่หลากหลายส่งผลให้ถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเพื่องานหล่อ, งานเคลือบ, งานเพิ่มความแข็งแรงและอื่น ๆ น้ำยาเรซิ่นของบางผู้ผลิต เช่น High-Gloss Epoxy ของ EASY RESIN นั้นยังถูกผลิตมาให้สามารถใช้ได้กับแทบทุกงานเรซิ่น จะเคลือบ, หล่อ หรือเท ก็จบครบในชุดเดียว ในขณะที่บางผู้ผลิตอาจพัฒนาบางสูตรขึ้นมาเฉพาะของแต่ละประเภทงานเท่านั้น

2. อีพ็อกซี่เรซิ่น VS โพลีเอสเตอร์เรซิ่น

สำหรับการใช้งานภายในประเทศไทย ประเภทน้ำยาเรซิ่นที่แพร่หลายโดยทั่วไปนั้นสามารถแบ่งออกมาได้ 2 ประเภท ได้แก่ โพลีเอสเตอร์เรซิ่น (Polyester Resin) และอีพ็อกซี่เรซิ่น (Epoxy Resin) 

ในอดีตส่วนใหญ่เราจะใช้กันเฉพาะโพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นหลัก แต่หลังจากมีการคิดค้นน้ำยาเรซิ่นเกรดอีพ็อกซี่ (Epoxy) ขึ้นมาจนกลายเป็น ‘อีพ็อกซี่เรซิ่น’ อัตราการใช้งานโพลีเอสเตอร์เรซิ่นจึงค่อนข้างลดลง เนื่องจากโพลีเอสเตอร์เรซิ่นจะขึ้นชื่อเรื่องคุณสมบัติใสพิเศษ แต่เมื่อถึงเวลาต้องทำงานจริงนั้น ค่อนข้างยุ่งยากและต้องอาศัยความชำนาญกว่ามาก ตั้งแต่การผสมน้ำยาที่มีอัตราส่วนไม่คงที่, มีระยะเวลาการทำงาน (pot time) ต่ำ หรือกล่าวคือ เมื่อผสมแล้วต้องรีบทำให้งานเสร็จ มิเช่นนั้นจะแข็งตัว ทำให้ไม่เหมาะกับผู้ทำงานเรซิ่นมือใหม่ที่อาจยังไม่เคยชินกับกระบวนการต่าง ๆ ตลอดจนมีกลิ่นฉุนและต้องมาขัดเงาเพิ่มเติมเมื่อแข็งตัว 

ด้วยข้อจำกัดนานาประการของโพลีเอสเตอร์เรซิ่น ทำให้ไม่เหมาะกับผู้ใช้งานมือใหม่ ผู้ที่ยังไม่เคยทำงานเรซิ่นมาก่อน หรือแม้กระทั่งชำนาญแล้วแต่อยากประหยัดเวลาและพลังงาน การเลือกใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นจึงเหมาะกว่าอย่างยิ่งเพราะเป็นสูตรเรซิ่นที่ไม่มีกลิ่นฉุน, ผสมง่ายด้วยอัตราคงที่ตามที่ผู้ผลิตกำหนด (ส่วนใหญ่ 1 : 1), มีระยะเวลาการทำงาน (pot time) สูง คือมากกว่า 30 นาที ตลอดจนไม่จำเป็นต้องมาขัดให้เงาเพิ่มเติม เพราะเมื่อแห้งตัวแล้วจะมีความเงาในตัวเลย และยังสามารถทำให้เนื้อนูน ไม่ตกขอบ เหมาะกับงานหยอด งานเคลือบ ตลอดจนงานหล่อ โดยในปัจจุบันอีพ็อกซี่เรซิ่นส่วนใหญ่ยังได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติใสจนแทบเทียบเท่าโพลีเอสเตอร์แล้ว ผู้ใช้งานจึงแทบไม่ต้องกังวลเลยว่างานที่ชิ้นงานที่ออกมาจะไม่ใสเท่าที่ต้องการ

3. เรซิ่นใส ไม่ได้แปลว่าต้องใสแบบกระจกเท่านั้น

ผู้ทำงานเรซิ่นหลายคนมักเข้าใจผิดว่าเรซิ่นใสนั้นต้องใสแบบกระจกเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงเราสามารถผสมสีได้อย่างหลากหลาย โดยจะเลือกใช้เป็นสีอะคริลิคโดยทั่วไปมาผสมก็ได้ แต่ต้องระวังเพราะบางยี่ห้ออาจจะไม่ค่อยแตกละลายไปกับน้ำยาเรซิ่น ทำให้ท้ายที่สุดจะตกเป็นตะกอน วิธีการผสมสีกับเรซิ่นให้ออกมาราบรื่นที่สุดจึงควรใช้เป็นผลิตภัณฑ์สีผสมที่ผลิตหรือคัดเลือกมาโดยผู้ผลิตเรซิ่นของเราเท่านั้น 

EASY RESIN Tips: 

  • ชุดน้ำยาเรซิ่นส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับ 2 ส่วน ได้แก่ น้ำยาเรซิ่น (A) และตัวเร่งแข็ง (B) เมื่อถึงเวลาใช้งาน ผู้ใช้งานต้องทำการผสมเอง โดยในช่วงเวลาผสม ที่จะสามารถใส่สีเพิ่มเติมที่ต้องการลงไปด้วย
  • ในการผสมสีแต่ละครั้ง หากเป็นสีทั่วไป เช่น สีใส สีทึบ หรือสีพาสเทล ควรผสมไม่เกิน 8% ของปริมาณเรซิ่น แต่ถ้าเป็นสีเมทัลลิค ใส่ไม่เกิน 20% ของปริมาณเรซิ่น มิเช่นนั้น อาจทำให้เรซิ่นไม่แห้งสนิทและไม่แข็ง และควรใส่สีทีละนิดเผื่อไล่หาเฉดที่ต้องการ เพราะหากใส่เยอะแล้วสีเข้ม จะแก้ให้อ่อนลำบาก

4. ขึ้นชื่อว่า ‘เรซิ่น’ เหมือนกันไม่ได้แปลว่า ‘คุณภาพ’ เหมือนกันทุกแบรนด์

จากที่กล่าวไปในข้อที่ 1 คุณสมบัติน้ำยาเรซิ่นของแต่ละผู้ผลิตนั้นอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับมาตรฐานและความสามารถในการผลิต ตัวอย่าง เช่น แม้ว่าผู้ผลิต A และ B จะพัฒนาสูตรอีพ็อกซี่เรซิ่นออกมาเหมือนกัน แต่คุณภาพอาจแตกต่างกันได้ เช่น เมื่อเวลาผ่านไปอีพ็อกซี่ของผู้พัฒนา A อาจเหลืองง่ายกว่าของผู้พัฒนา B ในการเลือกซื้อน้ำยาเรซิ่น เพื่อน ๆ จึงควรศึกษาคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียดก่อน 

5. น้ำยาเรซิ่นและความปลอดภัยต่ออาหาร

อีกหนึ่งข้อสำคัญที่ผู้ใช้งานหลายคนมักไม่รู้คือแม้ว่าอีพ็อกซี่เรซิ่นจะปลอดภัยต่อการใช้งานและไม่มีกลิ่นฉุน แต่ด้วยส่วนผสมต่าง ๆ ที่ต้องถูกออกแบบมาให้แข็งแรง เรซิ่นส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงไม่ปลอดภัยเมื่อสัมผัสอาหาร ด้วยเหตุนี้ หากเพื่อน ๆ ท่านใดที่อาจกำลังวางแผนนำไปใช้งานเชิงการทำอาหาร อาจต้องพิจารณาข้อนี้อย่างรอบคอบ หรือหากจำเป็นต้องใช้จริง ๆ อาจลองทักแชทมาปรึกษาแอดมิน EASY RESIN ดู เผื่อเราสามารถมองหาผู้ผลิตต่างประเทศที่ส่วนใหญ่จะมีการผลิตเรซิ่นสูตร ‘ปลอดภัยต่ออาหาร’ แต่ราคาอาจค่อนข้างสูง 

จบลงแล้วสำหรับ 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อน้ำยาเรซิ่นที่วันนี้ EASY RESIN  ได้นำมาฝากทุกท่าน สำหรับใครที่มีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอีพ็อกซี่ หรือเทคนิคเพิ่มเติมใดก็ตาม สามารถสอบถามพวกเราเข้ามาโดยตรงได้เลยผ่านทางแฟนเพจ EASY RESIN ของเรา พร้อมให้คำแนะนำฟรีทุกประการ

ใส่ความเห็น

Shopping cart

0
image/svg+xml

No products in the cart.

Continue Shopping